top of page

ค้นหาสูตรลับ After Yum ร้านยำที่ใช้ DATA เข้ามาบริหารร้าน

Updated: Jul 14, 2023


Data Analytic After Yum การใช้ข้อมูลกับการสร้างธุรกิจ

After Yum ร้านยำจากเมืองพัทยา จากแดนไกลสู่เมืองกรุง ที่ขยายสาขาร้านไปมากมาย และสร้างปรากฏการณ์ต่อคิวยาวเป็นจำนวนมาก พร้อมคนที่หลั่งไหลจากแดนไกล หรือคนกรุงที่พร้อมใจไปกิน After Yum ที่เมืองพัทยา จนเกิดกระแสฟีเวอร์ร้านยำผุดขึ้นมาอีกมากมาย หวังว่าจะมาแบ่งส่วนการตลาดของร้าน After Yum ได้บ้าง

แต่ความแข็งแกร่งของร้านไม่ใช่เพียงแค่รสชาติที่อร่อย แต่ทางร้านกับใช้สูตรลับ นั้นคือ DATA เข้ามาบริหารร้าน ซึ่งหลายครั้งที่แบรนด์ต่างๆ มักเข้าข้างตนเองว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นดีเพียงพอผ่านการใช้ Emotional ตัดสินมากกว่า Data โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองลูกค้าที่อาจจะคิดต่างกัน จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ วันนี้ NEO ACADEMY พามาถอดบทเรียนจาก Capital read.co ว่าคุณ แต๋ง ทำอย่างไร After Yum จึงประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้


“หาให้เจอว่าใครคือลูกค้าของเรา เมื่อเราหาเจอแค่กระซิบเบาๆ เขาก็ได้ยิน” แต๋ง After Yum ในงาน Modern Business Night


แค่เพียง Range อายุนั้นอาจจะไม่พอ ต้องวิจัยให้ลึก

รีวิวที่ได้รับก็สามารถนำมาทำดาต้าได้ ไม่ใช่แค่เพียงดูว่าเขียนแคปชันว่าอะไรแต่ดูไปจนถึงองค์ประกอบภาพเพื่อแยกกลุ่มลูกค้าแบบ Segment ไปจนถึงการเข้าใจการหาประชากรหลักและประชากรแฝง (จะได้ข้อมูลที่ดีมากๆ เช่น ช่วงเลือกตั้งเพราะจะทราบว่ามีผู้สามารถใช้สิทธิได้เท่าใด) นำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลในการเปิดสาขาใหม่เพิ่ม จากนั้นนำมาหาจุด Meet point ที่เป็นมากกว่าแค่ 4P ลูกค้าแฮปปี้ที่จะจ่ายเท่าไหร่ คนขายพอใจที่จะขายเท่าไหร่ มาเจอกันที่ความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายในจุดที่พอดี ปิดการขายได้ทันที


Data คือ New Air

สำหรับ After Yum คือเก็บข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่วันแรก หากถามว่าวันนี้สั่งหมูไปกี่กิโล พริกกี่เม็ด กระเทียมต้องไซส์ไหน เชื่อหรือไม่ว่าเขาสามารถตอบได้ โดยเก็บข้อมูลมากกว่าแค่ที่อยู่ใน Excel แต่รวบรวมนำขึ้นระบบ NAS (Network Attached Storage) เพราะข้อมูลจะได้ไม่หายนำมาวิเคราะห์ได้ลึกขึ้น ให้ทีมงานได้นำไปวิเคราะห์นำไปสู่การเข้าใจเทรนด์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ส่งผลมาสู่ปัจจุบัน และกำหนดทิศทางอนาคต สามารถจะนำเสนอสินค้าใหม่หรือสินค้าเดิมที่ดีกว่าได้ผ่านการทำ R&D ช่วงไหนขายดี ช่วงไหนขายไม่ดีต้องรู้เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายในแต่ไปจนถึงปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ ในส่วนของ Attitude ในการทำธุรกิจต้องเริ่มจากความคิดบวกอย่าพยายามนำความคิดด้านลบเข้ามาเพราะลูกค้าจะสัมผัสได้เช่นกัน


อย่าเสียเวลาอธิบายกับคนที่ตัดสินใจไปแล้ว

วัตถุดิบที่นำมาใช้ต้องมีการเก็บข้อมูล และหากไม่ได้คุณภาพตามข้อมูลที่มีไว้ทาง After Yum ก็ทำการชี้แจงทันทีโดยไม่รอให้ลูกค้ามาทักท้วงก่อน เพราะการอธิบายทีหลังนั้นยากกว่าเยอะ จึงชิงลงมือก่อนดีกว่า ได้ใจลูกค้าเพิ่มไปอีก


“นอกกรอบไม่ผิด บนชีวิตออนไลน์” จงมี Creative Thinking

Special Creation ต่อให้มี Data หรือเทคนิคเทพ ๆ มากมายแต่ก็อาจจะไม่สำเร็จหรือถ้าสำเร็จก็อาจจะไม่ยั่งยืน หากขาดความจริงใจ อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างสำหรับ After Yum คือเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่เข้าร่วมกับ Delivery Platform เพราะจะไม่ได้ข้อมูลของลูกค้า รวมไปถึงค่า GP ที่สูงมากๆ เรายอมทำเอง ส่งเองร่วมไปกับการส่งวัตถุดิบให้สาขา หลังจากที่สำเร็จแล้วจึงค่อยมาร่วมกับ LINE โดยที่เราจะได้ราคา GP ที่สามารถต่อรองได้


ความรู้ไม่เคยเต็มแก้วของ คุณแต๋ง After Yum

โดยมองหาการเรียนรู้ตลอดเวลา และรู้ว่าตนเองยังขาดอะไรและไม่รู้ลึกเรื่องอะไร ไปหาคนสอนเก่งๆ ขอเรียนแบบตัวต่อตัวทั้งเรื่องแบรนดิ้ง แฟรนไซน์ ไปจนถึงการตลาดออนไลน์ หลักจากเข้าใจเรื่องแบรนดิ้ง และการสร้างการจดจำ จึงเริ่มจาก “ภารกิจจักรวาล” คือต้องไปดูหน้าลูกค้าเองเสมอ เอนเตอร์เทนลูกค้า พูดคุยกับลูกค้า และยังต่อยอดเตรียมขยายธุรกิจไปเมืองจีน โดยจดเครื่องหมายการค้าเอาไว้มากมายเพื่อป้องกันสิทธิ์ในทางกฎหมายในอนาคต


วิธีคิดการทำ New Business ของ After Yum นั้นทำได้อย่างน่าสนใจคือ ตอนที่เริ่มธุรกิจนี้แรกๆ ได้มีการประเมินความเสี่ยงไว้หากว่าไม่สำเร็จในเวลาที่กำหนดก็ตั้งใจจะ Exit แต่ตอนนี้อาจจะมองไปไกลกว่าเรื่องนี้ อาจจะไปถึงขั้น IPOไกลไปจนถึงวางแผนเรื่องรายได้และภาษี กระจายรายรับอย่างเหมาะสม จดทะเบียนบริษัทเพิ่มขึ้นตามภารกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งตอนนี้ After Yum มี 7 บริษัท (มีบริษัทเอาไว้รับงานบันเทิง อีเวนต์ และพรีเซนเตอร์โดยเฉพาะ)


After Yum สำเร็จได้เพราะใช้วิธีการมองจากข้างนอกสู่ข้างในคือใช้มุมมองเดียวกันกับของลูกค้า เปรียบเสมือนเข้าไปใส่รองเท้าของลูกค้า มองหาปัญหาจริงๆ ให้ตรงจุดและแก้ไขด้วย Data ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพราะหากไม่เข้าใจลูกค้าก็เหมือนหาไม่เจอ จะตะโกน (ใช้งบการตลาด) ไปมากเท่าไหร่เขาก็ไม่ได้ยิน นั่นจึงทำให้มีลูกค้าแวะเวียนมาอย่างเสมอจน After Yum ยังมีลูกค้ามาต่อคิวแน่นหน้าร้าน

ลูกค้า คือ คนที่ต่อลมหายใจ "ต้องจริงใจกับลูกค้าทุกคน" และพนักงาน ทีมงานคือฟันเฟือง รวมกันคือหัวใจของธุรกิจ


ถ้าเรามองในมุมมองเรื่อง DATA แล้ว คุณแต๋งเป็นเจ้าของร้านยำที่สุดยอดมาก โดยการนำเอา Data มาวิเคราะห์เพื่อหาลูกค้าที่แท้จริง หาว่าวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานควรเป็นแบบไหน ควรสั่งเท่าไหร่ และควรออกเมนูอะไรให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด ซึ่งถ้าท่านใดสนใจที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติ่มเรื่อง Data มากขึ้น อยากรู้ว่าธุรกิจตัวเองควรไปในทิศทางไหน หรือลูกค้าเราเป็นอย่างไร ทาง NEO ACADEMY มีบทเรียนสำหรับการทำ Data เช่นเดียวกันค่ะ


ลองมาเรียนหรือทดลองเรียนกับคอร์ส Mini MBA: Digital Marketing Management

12,553 views0 comments
bottom of page