ปัจจุบันดิจิตอลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค โดยมีรายงานการวิเคราะห์การใช้อินเตอร์เน็ต (We are Social, 2566) ของเดือนมกราคม 2023 พบว่าอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตมีถึง 85.3% และสาเหตุที่ใช้หลักๆ นั้นมาจากเพื่อการค้นหาข้อมูลโดยพบว่ามีสถิติที่น่าสนใจดังนี้
Search Engine เป็นเหตุผลหลักที่คนไทยใช้งาน Internet (64.9%)
Search Engine เป็นช่องทางหลักที่คนไทยยังคงใช้เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ออนไลน์มากที่สุด (51.1%)
Search Engine เป็นช่องทางที่ช่วยให้คนไทยตัดสินใจก่อนซื้อ (50.3%)
Search Engine เป็นช่องทางที่คนไทยรู้จักกับแบรนด์ใหม่ๆ (33.9%)
ดังนั้น SEO หรือ Search Engine Optimization มีผลเป็นอย่างยิ่งต่อการทำธุรกิจแบบยั่งยืนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่มีเพียงองค์กรส่วนน้อยในไทยที่ได้มีการนำไปใช้อย่างถูกวิธีและประยุกต์ให้เกิดความสำเร็จแบบยั่งยืน เพราะการใช้สื่อนี้คือขั้นตอนหนึ่งใน Customer Journey ในการเข้าถึงและให้ข้อมูลกับผู้บริโภค การจะขึ้นเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคพบเจอผ่านการค้นหานั้นจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และประยุกต์ใช้หลักการสื่อสารการตลาดแบบครอบคลุมจึงจะสามารถอยู่ในอันดับต้นๆ ของการค้นหาเหนือคู่แข่งอีกมากมายได้
SEO ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เริ่มจากเข้าใจพื้นฐานจาก A-Z
· A คือ Algorithm:
Search engine มี algorithm ที่สลักซับซ้อนเพื่อจะตัดสินว่าควรให้เว็บไซต์อยู่อันดับใดบ้าง เช่น Google ใช้ถึง 200 หลักการมาตัดสิน ซึ่งทำให้ยากจะคาดเดาได้ว่ากลไกนี้ทำงานอย่างไร
· B คือ Backlinks:
ซึ่งก็คือลิงค์ที่ยิงมาที่เว็บเราจากเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งหนึ่งในการจัดอันดับขึ้นอยู่กับตัวนี้ด้วย แต่ไม่ใช่เยอะเพียงอย่างเดียว แต่ลิงค์ที่เข้ามาควรมีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
· C คือ Content:
เป็นส่วนที่มีประโยชน์ที่สุดแก่ผู้ค้นหา search engine พยายามที่จะจับคู่คำที่คนค้นหาให้เหมาะกับคอนเทนต์มากที่สุด ยิ่งมีเนื้อหาครอบคลุมมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลมากเท่านั้น
· D คือ Duplicate Content:
เป็นหนึ่งตัวที่ Search Engine จะลงโทษถ้ามีคอนเทนต์ไปซ้ำกับเพจอื่นๆ ดังนั้นจึงควรแน่ใจว่าคอนเทนต์เราไม่ซ้ำใคร
· E คือ Evergreen Content:
เป็นการเขียนคอนเทนต์แบบยั่งยืน ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลให้ความรู้ ไม่ได้ตามกระแสหรือสถานการณ์ปัจจุบัน การสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้มากๆ จะช่วยให้เว็บมีโอกาสอยู่ในอันดับที่ดีอย่างหยั่งยืน
· F คือ Fresh Content:
Search engine ชอบเนื้อหาใหม่สดเสมอ คอนเทนต์ที่สดใหม่มีโอกาสที่จะได้อันดับที่ดีกว่า ค่อยอัพเดตเนื้อหาที่ล้าสมัยเป็นวิธีช่วยยกระดับเว็บได้
· G คือ Google Places:
อีกหนึ่งเครื่องมือจาก Google ที่ไว้จดทะเบียนธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมให้อันดับดีขึ้นตามไปด้วย (Pigeon algorithm)
· H คือ HTML:
ภาษาที่ไว้สำหรับสร้างเว็บ โครงสร้างต่างๆ สามารถช่วยให้ search engine ที่เข้ามาเข้าใจว่าหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร
· I คือ Indexing:
Search Engine ใช้เครื่องมือตรวจสอบผ่านเว็บต่างๆ เก็บข้อมูลเพื่อจัดอันดับ
· J คือ JavaScript:
การใช้ภาษานี้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ Search Engine เข้าใจง่าย แต่ไม่ควรมากเกินไป
· K คือ Keywords:
คำหลักที่เลือกให้เนื้อหาของเรา เพื่อให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการ ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสในการได้ลูกค้า
· L คือ Long Tail Keywords:
เป็นคำหลักที่มีตั้งแต่สามคำขึ้นไป ซึ่งอาจจะมีปริมาณการค้นหาที่ไม่สูงแต่ปัจจุบันคำเหล่านี้กลุ่มเป้าหมายมักจะค้นหามากกว่าคำหลักสั้นๆ
· M คือ Meta tags:
เป็นตัวที่ไว้แสดงในผลการค้นหา แต่ไม่ได้ให้แสดงในเว็บ ตัวที่ใช้มากที่สุดคือ title tag และ description การเพิ่มคำหลักลงใน title จะช่วยให้อันดับดีขึ้น ในขณะที่ description จะทำให้อัตราการกดหรือ CTR มากขึ้น
· N คือ No follow:
คำสั่งไม่ให้ search engine ตามลิงค์นั้นไป การทำแบบนี้จะช่วยให้การลิงค์ในเว็ปไซต์ดูเป็นธรรมชาติและมีส่วนกับอันดับที่ดีอีกด้วย
· O คือ Over Optimization:
การทำอะไรมากเกินย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ดี ทั้ง Keywords และ backlink จะเป็นปัจจัยให้โดนแบน
· P คือ Penalties:
เว็บที่ละเมิดกฎของ Search engine จะทำให้อันดับเว็บตรงหรือโดนเอาออกจากผลการจัดอันดับ ซึ่ง Google มักมีอัพเดตอยู่เรื่อยๆ เพื่อสร้างการค้นหาที่ดีที่สุด
· Q คือ Queries:
คำที่คนค้นหามาที่ใช้ค้นหามาที่เว็บแบบคำต่อคำ (Exact match) ทำให้สามารถรู้ได้ว่าคำค้นหาใดที่ทำให้เจอเว็บ
· R คือ Rich Snippet:
เป็นการทำให้ผลการเสิร์จมีข้อมูลมากขึ้นโดยการเพิ่ม ข้อมูลเพิ่มเติมหรือ Micro data ซึ่งยังเพิ่ม CTR ได้อีกด้วย
· S คือ Social Signals:
เว็บที่มีจำนวน social share ที่มากมีผลต่อการจัดอันดับอีกด้วย
· T คือ Trust:
ความน่าเชื่อถือของเว็บ มีผลต่ออันดับบนผลการค้นหา ยิ่งเว็บปลอดภัยเท่าไหร่ Google ยิ่งชอบ
· U คือ Unnatural Links:
ลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่ดี ไม่เป็นธรรมชาติ มาจากเว็บที่โครงสร้างไม่ดี มักจะมีผลกระทบต่อเว็ปไซต์
· V คือ Video:
จากผลวิจัย การมีวิดีโอบนเว็บไซต์ ทำให้มีโอกาสติดหน้าแรกเพิ่มขึ้นถึง 50 เท่า วิดีโอก็ต้องการการปรับเช่นกันเพื่อที่จะให้ search engine เข้าใจว่ามันเกี่ยวกับอะไร
· W คือ Webmaster tools:
เป็นเครื่องมือที่เปรียบเสมือนตาของ Google ทำให้รู้ว่าเห็นเว็ปไซต์เป็นแบบใด ช่วยให้รู้ว่ากี่หน้าแล้วที่ได้รับการจัดอันดับ มีลิงค์เท่าใด และคำหลักที่สำคัญ
· X คือ XML Sitemap:
การจัดโครงสร้างให้ดูง่ายทำให้การจัดอันดับง่ายขึ้นตามไปด้วย
· Y คือ Yoast:
เครื่องมือตัวหนึ่งของ WordPress ที่ช่วยแนะนำการทำ SEO ให้ง่ายขึ้น บอกได้ว่ายังขาดอะไรหรืออะไรที่มากเกินไป
· Z คือ Zeitgeist:
Google Zeitgeist เป็นรายงานประจำปีที่รวมผลการค้นหาของทั้งโลก การจะเป็น SEO ที่ดีจำเป็นต้องเข้าใจว่าคนค้นหากันแบบใด เปลี่ยนรูปแบบอย่างไรบ้าง เพื่อจะทำให้สำเร็จต่อไป
หลังจากที่รู้จักกันมาจนครบแล้ว ต่อไปในอนาคตหากได้ยินคำพวกนี้ ก็เชื่อว่าจะเข้าใจในความหมายและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้าน SEO ต่อไปเพื่อสร้างความสำเร็จด้านดิจิทัลแบบยั่งยืน
댓글