เพราะแบรนด์คือสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด ดังนั้นในหลายๆ ครั้งเราจะเห็นหลากหลายแบรนด์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่บางอย่างที่ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมที่อาจจะขายดีอยู่ แล้วอะไรคือสาเหตุที่แบรนด์ที่ต้องทำแบบนี้ เหตุผลที่ซ่อนอยู่นั้นคือ เพราะผู้บริโภคนั้นมักยึดติดกับแบรนด์ และยิ่งมีประสิทธิภาพหากแบรนด์มีสินค้าที่มีคุณภาพ เคยสร้างความประทับใจในอดีต ดังนั้นไม่ว่าในอนาคตแบรนด์เหล่านี้จะออกผลิตภัณฑ์อะไรออกมา ผู้บริโภคนั้นก็ไม่มีความลังเลที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลักษณะนี้จะมีชื่อเรียกว่า
Umbrella Branding
(หรือบางที่อาจจะเรียกว่า Family Branding)
ข้อดีของ Umbrella Branding
ข้อดีของการทำ Umbrella Branding นั้นก็คือสามารถช่วยประหยัดงบ รวมไปถึงทรัพยากรในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ไปในตัวได้อีกด้วย โดยการอาศัยกลุ่มฐานผู้บริโภคเดิมที่รู้จักและอาจจะชื่นชอบในแบรนด์ หากเทียบกับการสร้างแบรนด์ใหม่ในเครือขึ้นมาให้เป็นที่รู้จัก ไปจนถึงการทดลองออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาลองและขยายตลาดโดยได้แรงหนุนจากชื่อแบรนด์ หากผลิตภัณฑ์นั้นดีก็สามารถที่จะกลายเป็นแหล่งหารายได้ใหม่ได้ทันที วิธีนี้จึงถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
A rose by any other name would smell as sweet
- โรมิโอกับจูเลียต แต่งโดยวิลเลียม เช็คเปียร์ -
ข้อเสียของ Umbrella Branding
แม้จะฟังดูค่อนข้างมีข้อดี แต่เหรียญมักมีสองด้านเสมอ เพราะหากผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งเกิดสร้างชื่อเสียให้กับแบรนด์ภายใต้ Umbrella Branding ก็จะกระทบต่อภาพรวมของแบรนด์ทั้งหมดภายใต้ร่มนั้น ดั่งคำกล่าวที่ว่า
ปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง
นอกจากนี้ไม่ใช่ว่าการทำ Umbrella Branding จะเป็นแค่การออกผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ เพราะหากผลิตภัณฑ์ที่ออกใหม่มานั้นค่อนข้างจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิมก็อาจจะเกิดคำถามถึงแนวทางและจุดยืนของแบรนด์ได้ ไปจนถึงความคาดหวังสูงจากผู้บริโภคที่เชื่อมั่นในแบรนด์ต่อผลิตภัณฑ์ใหม่อีกด้วย
กลยุทธ์ในการสร้าง Umbrella Branding
ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่
วางแผน
เข้าใจลูกค้า
เข้าใจผลิตภัณฑ์หลัก
สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่แข็งแรง
มีความชัดเจนด้าน Brand Personality
4 ตัวอย่าง Umbrella Branding
Apple เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจน เพราะแม้ในอดีต Apple จะมุ่งเน้นในการทำคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันภายใต้ Umbrella Branding ของ Apple นั้นก็เพิ่มสินค้าในหมวดหมู่ใหม่ที่แทบจะอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ทั้ง
iPhone
iPad
AirPods
Apple Watch
Pro Vision
AirTag
หรืออีกหนึ่งตัวอย่างจาก Procter & Gamble ที่ขยายหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ออกไปอย่างกว้างขว้าง อาทิ
Head & Shoulders
Pantene
Lenor
Ariel
Gillette
Tide
Herbal Essences
Tampax
ที่แม้บางผลิตภัณฑ์อาจจะหาจุดเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถขายได้ดีเพราะความเชื่อมั่นในแบรนด์นี้ของเหล่าผู้บริโภค
Unilever
ที่อาจจะขึ้นชื่อได้ว่า มีแบรนด์ที่อยู่ใต้ร่มที่มีความหลากหลายและอาจจะดูแทบไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ทุกแบรนด์นั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐานจึงทำให้ Unilever สามารถอยู่มาได้ถึง 90 ปีและยังคงขยายผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ออกไปได้เรื่อยๆ อาทิเช่น
Dove
Axe
Breyers
Lipton
Magnum
Breeze
Knorr
OMO
Sunsilk
Vaseline
Wall's
Comfort
Fluocaril
Pond's
Rexona
Starbucks Corporation
ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ขายกาแฟ แต่ยังสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วยอีกทาง
Starbucks Coffee
Starbucks Tea
Starbucks Drink-ware (แก้ว, เหยือก, กระติก)
Starbucks Equipment (เครื่องชงกาแฟ)
Starbucks Syrups and Toppings
หลังจากที่ได้รู้จัก Umbrella Branding พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสีย แล้ว เมื่อถึงเวลาที่แบรนด์ต้องมีแผนในการจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่อาจจะต้องตัดสินใจว่าจะใช้ภายใต้แบรนด์เดิมหรือออกแบรนด์แยกไปเลย แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้องตอบให้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Brand Value อย่างไรบ้าง การสร้างแบรนด์และสื่อสารออกไปให้ผู้บริโภคเข้าใจจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
รู้จักวิธีการหา Brand Value และเข้าใจ Brand Proposition ผ่านการเรียน Mini MBA – Branding & Communication Management (หลักสูตรการบริหารและสื่อสารแบรนด์)
תגובות