top of page

ความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Intelligence Quotient) คืออะไร


ความสามารถในการเข้าใจและการใช้ที่สำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีและเทคโนโลยี ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่การใช้เครื่องมือหรือสื่อ แต่ยังครอบคลุมไปถึงการวัดและประเมินความฉลาดเกี่ยวกับดิจิทัลทั้งหมด ทั้งการใช้ให้เกิดประโยชน์แบบสร้างสรรค์และรู้เท่าทันพร้อมจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกดิจิทัล


ผลจากการศึกษาและพัฒนาของ DQ institute หน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนทั่วโลกประสานงานร่วมกับ เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ที่มุ่งมั่นให้เด็กๆ และประชาชนทั่วไปของทุกประเทศได้รับการศึกษาด้านทักษะพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่


โดยสามารถแบ่งได้เป็น 8 ประเภทดังนี้


ตัวตนดิจิทัล (Digital Identity)

การสร้างและจัดการตัวตนและชื่อเสียงออนไลน์ของตนเอง ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจบุคลิกภาพออนไลน์ของตนเอง และการจัดการผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวของการแสดงตนทางออนไลน์ของตนเอง


การสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital Communication)

การสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลอย่างถูกวิธี ตั้งแต่การเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โมบายแอป การประชุมผ่านวิดีโอ การแชทบนมือถือ การเขียนบทความผ่านบล็อก การส่งข้อความผ่านอีเมลหรือสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ตลอดจนการโทรศัพท์หากัน เป็นต้น


ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy)

การศึกษา การค้นหา รวมถึงการนำมาประเมินวัดผล ใช้ และแบ่งปัน รวมถึงการสร้างเนื้อหา (Digital Content) และพัฒนาการคิดเชิงคำนวณนำไปสู่การสร้างประสิทธิภาพมาสู่ธุรกิจ

ใช้ เข้าใจ สร้าง เข้าถึง

การใช้งานแบบดิจิทัล (Digital Use)

ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและสื่อต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล โดยสามารถควบคุมตนเอง ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลที่ดีระหว่างชีวิตออนไลน์และออฟไลน์ของตนเอง


ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety)

หลีกเลี่ยงและจำกัดความเสี่ยงทางออนไลน์ การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต การก่อให้เกิดความรุนแรง รวมทั้งเนื้อหาที่เป็นปัญหา เช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรงหรือลามกอนาจาร และอื่นๆ ไปจนถึงการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint) ไว้ในโลกออนไลน์ เช่น คือข้อเขียน รูปภาพ สิ่งต่างๆ ที่เราเขียนหรือลงไว้ใน Social Media ทั้งหลาย


การป้องกันแบบดิจิทัล (Digital Security)

ตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การหลอกลวง มัลแวร์ ฯลฯ ทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับการปกป้องข้อมูล


5 ป้องกันข้อมูลทางดิจิทัล

  1. ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ

  2. หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์

  3. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ

  4. อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ

  5. ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ


ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล (Digital Emotional Intelligence)

ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นผ่านสื่อดิจิทัล เช่น การเอาใจใส่ผู้อื่น การแสดงน้ำใจ สร้างความสัมพันธ์ และการช่วยเหลือทางออนไลน์ที่ดีกับผู้อื่น แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ


  • ความเข้าใจ เห็นใจ มีน้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัล (Empathy) เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นบนโลกดิจิทัล หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น การแบ่งปันความรู้บนโลกออนไลน์ การแสดงความเห็นใจและช่วยเหลือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์

  • ความตระหนักและการควบคุมอารมณ์ (Emotional Awareness and Regulation) เป็นการยับยั่งชั่งใจเมื่อเห็นเนื้อหาที่ไม่ถูกใจ ไม่แสดงอารมณ์เชิงลบผ่านการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ เป็นความสามารถในการรควบคุมอารมณ์กับสิ่งที่ไม่ถูกใจในโลกดิจิทัล

  • ความตระหนักด้านอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Awareness) เป็นความสามารถในการแสดงออกถึงการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในสังคมและสิ่งแวดล้อมดิจิทัล เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมดิจิทัลได้อย่างมีความสุข


โดยความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัลมีสมรรถนะ 5 ด้านได้แก่


1. การรับรู้ (Perceive)

2. ความเข้าใจ (Understand)

3. การนำไปใช้ (Use)

4. การจัดการ (Manage)

5. การเชื่อมต่อ (Connect)


สิทธิ์ดิจิทัล (Digital Right)

ทำความเข้าใจและปกป้องสิทธิ์ดิจิทัล ความเป็นส่วนตัวทรัพย์สินทางปัญญา เสรีภาพในการแสดงออก และการป้องกันคำพูดแสดงความเกลียดชัง และอื่นๆ โดยทำผ่านการจัดการสิทธิ์แบบดิจิตอล เรียกย่อๆว่า “DRM” คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุม และกำหนดขอบเขตการเข้าถึง และการใช้งานข้อมูล


หากบุคคลมีทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย

40 views0 comments
bottom of page