top of page

การเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาธุรกิจใหม่ ควรทำอย่างไร ?

Updated: Aug 11, 2023


การเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาธุรกิจใหม่ ควรทำอย่างไร
การเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาธุรกิจใหม่ ควรทำอย่างไร

การเริ่มต้นธุรกิจ

สำหรับท่านไหนที่กำลังมีไอเดีย หรือกำลังคิดว่าจะเริ่มธุรกิจอะไร เพียงแค่คุณคิดก็เป็นการที่คุณเข้าสู่กระบวนการ Entrepreneurship หรือกระบวนการเป็นผู้ประกอบการแล้ว ดังนั้นอย่าเพิ่งคิดอะไรที่มันซับซ้อนไปมากกว่านั้น เพียงแค่คิดว่าอยากจะเริ่มต้นธุรกิจ คุณก็เปรียบเสมือนกับ Super Hero สำหรับผู้ประกอบการนั้นถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วมีเพียงแค่ 7% เท่านั้น สมมุติเราเดินเข้าไปเจอคน 100 คน มีถึง 93 คนเลยนะคะ ที่เป็นผู้ถูกจ้างงาน และมีเพียง 7 คนเท่านั้นที่เป็นผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้างนั้นเอง


Super Hero
Super Hero

ทำไมถึงเรียกผู้คิดอยากจะประกอบการว่า Super Hero

นั้นก็เพราะผู้ประกอบการ 1 คนเท่านั้นสามารถสร้าง Impact มีผลกระทบเป็นวงกว้างเสมือนว่าเราเป็นก้อนหินก้อนหนึ่งที่โยนเข้าไปในแม่น้ำอันว่างเปล่าแล้ววงของน้ำก็จะกระเพื่อมกระจายไปทั่วซึ่งวงกระเพื่อมที่ผู้ประกอบการได้สร้างนั้นมีอะไรบ้าง

  1. สร้างความมั่งคั่ง ไม่ใช้เพียงแค่กับตัวเองเท่านั้นแต่ยังสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้อื่นด้วยเพราะว่าผู้ประกอบการคือคนจ้างงาน สำหรับผู้ประกอบการ 1 คน สามารถจ้างงานได้มากถ้าเป็นร้านเล็ก ๆ ก็จ้างงาน 7 คน ถ้าเป็นองค์กรระดับ SME ก็ถูกจ้างงานประมาณ 25-30 คน และธุรกิจไซร์ M ถูกจ้างงานได้ถึง 50 คน และสุดท้ายถ้าธุรกิจของท่านขนาดหมื่นล้านบาท ท่านก็สามารถจ้างผู้คนได้ถึงระดับอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ที่ Tesla สร้าง หรือ AI ที่ Google สร้าง

  2. ยกคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการนั้นเข้าไปแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น บางอย่างที่ราคาแพงไป ผู้ประกอบการก็ไปหาวิธีทำให้ราคามันถูกลง หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ดั่งใจ ผู้ประกอบการก็จะคิดค้น ค้นหาวิธี นวัตกรรมใหม่ๆ มาแก้ปัญหาเหล่านี้

  3. สร้าง GDP ให้ประเทศ ในหนึ่งประเทศจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะ Import สินค้าเข้ามาภายในประเทศทุกอย่าง เพราะฉะนั้นภายในประเทศจะต้องมีผู้สร้างธุรกิจที่สามารถ Export ได้ มากไปกว่านั้นคุณยังสามารถสร้างมวลรวม GDP ของประเทศให้มากขึ้นไปด้วย ไม่จำเป็นที่ต้อง Import ของอย่างเดียว

  4. สร้างงาน สร้างโอกาสให้ผู้คน มีคนอีกมากมายเลยที่กำลังตกงานอยู่ ซึ่งมีไม่กี่คนหรอกค่ะที่จะรู้ได้ว่าจะสร้างธุรกิจอะไรในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ดังนั้นผู้ประกอบการก็เป็นเหมือน Hero ที่สร้างงาน และจ้างงานคุณได้ ธุรกิจดีขึ้น สังคมก็ดีขึ้น


เข้าสู่กระบวนการ New Venture Creation Process
เข้าสู่กระบวนการ New Venture Creation Process

เข้าสู่กระบวนการ New Venture Creation Process

คือกระบวนการของการสร้างกิจการใหม่ หรือศาสตร์จากการสร้างจาก 0 สำหรับใครที่คิดว่าการสร้างกิจการเป็นเรื่องยากนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่กับบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายในการสร้างธุรกิจเพียงแค่ไปซื้อของมาจากแหล่งทุน และนำมาขายในออนไลน์ก็ได้แล้ว ซึ่งการที่คุณคิดว่ามันไม่ใช้เรื่องง่ายหรือเรื่องยากนั้น มันคือการคิดแบบ Mindset ค่ะ หรือ ทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ คุณต้องมีความเชื่อว่าสามารถทำได้ แต่ความเชื่ออาจจะยังไม่พอ ซึ่งมีศาสตร์ของ New Venture Creation Process อยู่ ไปดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


ทำอะไรดี

ช่วงนี้ผู้ประกอบการต้องประกอบการอะไรในหัวมากเลย คนที่ทำได้ดีส่วนมากจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกับตัวเอง และซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ในขณะเดียวกันสายตาต้องเปิดกว้างที่จะได้มองว่าโอกาสของข้างนอกเป็นอย่างไรบ้าง เพราะไม่มีผู้ประกอบการคนไหนหรอกค่ะ ที่จะทำได้ถ้าไม่ใช่ทำในสิ่งที่รัก และไม่ได้รักในสิ่งที่ทำ ผู้ประกอบการต้องประกอบไปด้วย

  1. Idea ของคุณ บางคนอาจจะมีไอเดียที่อยากจะทำร้านอาหาร เปิดร้านเสริมสวย เป็นต้น

  2. ตัวคุณเอง คุณอยากทำมันใช่ไหม คุณมีความรู้ใช่ไหม คุณมีเวลาที่จะทำต่อสิ่งนี้ใช่ไหม หลายคนเริ่มกิจการตอนที่ยังทำงานประจำอยู่ ตอนเช้าทำงานประจำ ตอนเย็นทำกิจการ จนมั่นใจแล้วว่ามั่นคง จึงลาออก ออกมาทำกิจการอย่างเต็มตัว หรือตัวคุณเองค้นพบสิ่งที่อยากแล้วไม่อยากจะเสียเวลาต่อไป ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกตนเองนะคะ เพราะ “ ผู้ประกอบการ คือลูกจ้างคนแรกของบริษัท”

  3. Market Opportunity คุณอาจจะมี Passion อยากทำร้านอาหาร แต่ Location มันใช่หรือเปล่า คุณสามารถไปเจอวัตถุดิบที่ตลาดถูกกว่ามาส่งของให้กับทางร้านของคุณ ให้คุณได้กำไรจากในช่วงของการผลิตหรือเปล่า นั้นคือสิ่งที่เรียกว่า Market Opportunity

เมื่อคุณรวมร่าง 3 อย่างนี้มาได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือคุณต้องสรุปออกมาและสิ่งที่เรากำลังจะสรุปเนี่ยเรียกว่า Venture Concept มันก็คือการสรุปว่ากิจการที่คุณจะทำคือแนวคิดอะไร แนวคิดมันแตกต่างกับผู้อื่นหรือไม่ หรือก็มีแนวคิดที่คล้ายๆ กัน อย่างเช่น คุณอยากทำร้านอาหาร แนวคิดร้านอาหารของคุณมันแตกต่างอย่างไรคะ มีโอกาสอย่างไร มันทำให้คุณที่เป็น Founder เนี่ยมีจุดแข็งอย่างไรในการมาสร้าง Venture Concept หรือว่าคุณมีกลุ่มเพื่อนที่มีแนวคิด Passion เพียงพอจะมารวมร่าง เอาคนเก่ง ๆ มารวมกัน และสร้างเป็นแนวคิดอะไร ตอบตัวเองให้ได้ว่า Venture Concept หรือแนวคิดกิจการมีอะไร


ทำดีไหม

เชื่อว่ามีผู้ประกอบการหลายคนคิดว่าควรทำดีไหม ถ้าทำไปแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง กิจการพังพินาศไป ตัวเราเองจะมีชีวิตอย่างไร ถ้าเกิดว่าสิ่งนี้เราพึ่งมาค้นพบว่าไม่ใช่สิ่งที่เราชอบจริง ๆ แล้วเราจะพากิจการของเราเดินหน้าต่อไปได้ไหม ถ้าเรามัวแต่ถามว่าจะทำดีไหม มันไม่ได้อะไรขึ้นมาหรอกค่ะ แต่สิ่งที่ประกอบการต้องมีคือ Critical Thinking ความคิดเชิงการวิพากษ์ คุณต้องคิดแนวดิ่ง ตอบคำถามคุณในใจให้ได้ทีละข้อ


ซึ่งหลักการนี้เราเรียกว่า Test of Potential คือ แนวความคิดของคุณมันน่าจะมีการตอบกลับไหม ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถที่จะทดลองทำอย่างง่าย ๆ เพราะผู้ประกอบการหลายคนมักมั่นใจในแนวคิดของตนเอง และนำเงินไปลงทุนเลย โดยที่ผู้ประกอบการมักจะกล้าเจ๊งใหญ่แต่ไม่กล้าเจ๊งเล็กนะคะ การเจ๊งเล็กเนี่ยคือการเทสแนวคิดก่อนว่าเป็นสิ่งที่คุณต้องการหรือไม่ และขั้นต่อไปคือ Test of feasibility การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน แน่นอนว่าเงินเป็นตัวตอบเราหลายๆ อย่างเพราะมีธุรกิจอะไรที่รันได้โดยไม่ใช้เงิน แต่ในอีกมิติหนึ่งเวลาเราพูดเรื่องเงินนี่ จริงแล้วเงินคือ Resource หรือว่าเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งในการเริ่มต้นกิจการเท่านั้นเอง อย่าลืมว่าเงินเป็นสิ่งหนึ่งแต่ว่า คุณต้องมีทั้งความรู้ มีทั้งกำลังพล มีที่ดิน มีความสามารถ


ซึ่งผู้ประกอบการต้องรวมไว้ทั้งหมดด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญว่ากิจการนี้น่าลงทุนหรือเปล่าตัวลขก็เป็นตัวชี้วัดไว้ว่าดีที่สุด “ทุกกิจการต้องมีความเสี่ยง” ยิ่งเสี่ยงเยอะยิ่งได้เยอะ ยิ่งเสี่ยงน้อยยิ่งมีโอกาสได้น้อย เพราะฉะนั้นการ Test of feasibility ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ เงินลงทุนตั้งต้นกิจการเท่าไหร่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเลขนั้นดีไม่ดี “จงเห็นตัวเลขมีชีวิต จงเห็นชีวิตหลังตัวเลข”


ทำอย่างไร

เวลาที่เราสร้างกิจการ เรารู้ว่ามีเรื่องเยอะแยะ มีสิ่งที่ต้องคิด มีสิ่งที่ต้องทำ เป็นเรื่องยากมากที่จะมีใครเห็นภาพรวมทั้งหมด หรือสามารถที่จะทำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเราควรมีแผนธุรกิจ เราใช้แผนธุรกิจในการสื่อสารกับคนในองค์กร เราที่สำคัญคือแผนธุรกิจ คุณเขียนออกมาเพื่อตัวคุณเองนั้นแหละ หลายครั้งที่ความคิดไม่เคลียก็ตกผลึกออกมาโดยการนั่งเขียนแผนธุรกิจออกมาในฉบับของตัวเอง การเขียนแผนธุรกิจนั้นมีหลายเทคนิค แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ 7 บท 7 เรื่องในการเขียนแผนธุรกิจกันคะ

  1. Executive Summary บทสรุปผู้บริหาร ใน 1 หน้าคุณต้องสรุปให้ว่าธุรกิจของคุณคืออะไร ขายให้ใคร และลงทุนเท่าไหร่

  2. Company Description คำอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ บริษัทของคุณคืออะไร จดจัดตั้งที่ไหน ชื่อนิติบุคคลชื่ออะไร มีหุ้นกี่คน และสถานที่อยู่ที่ไหน

  3. Product/Service สรุปแล้วคุณขายอะไร และแตกต่างอย่างไร ของที่คุณขายทำไมคนถึงอยากได้ สิ่งนั้นเรียกว่า Value Preposition ซึ่งในบทของแผนธุรกิจมีเครื่องมือมากมาย คุณอาจจะใช้ 4 P’s หรือ Swot เข้ามาบริหารธุรกิจของคุณ

  4. Market Analysis เป็นพาร์ทที่สำคัญมาก ๆ และผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ คู่แข่งเป็นใคร คุณจะขายเหมือนเขา แตกต่าง หรือมีแผนโปรโมทอย่างไร ดังนั้นการทำการตลาดเป็น 1 สิ่งที่ผู้ประกอบการมักจะลืมไป และในปัจจุบันจะต้องมีเป็น Omni Channel

  5. Operations/Strategy อยากให้เห็นภาพง่ายๆ เลยคือ ภาพตอนเช้าที่คุณเปิดร้าน จนปิดร้านในทุกวัน ใครเป็นคนที่จะต้องรับผิดชอบในส่วนของตรงไหน เช่น ตั้งแต่ของเข้า ยันของออก ทำยังไงให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ แผนในการรับความเสี่ยงคืออะไร

  6. Management Team เวลาที่เราไปทำแผนธุรกิจ สิ่งที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือ ใครเป็นผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นแต่ละคนทำอะไรบ้าง ถ้าเราเพื่อนมาร่วมหุ้นด้วยกัน เราควรเคลียให้ชัดนะคะ ว่าใครเป็นตำแหน่งอะไร ทำอะไร ไม่งั้นแล้วธุรกิจอาจจะพังเป็นได้ ถ้าเราไม่เคลียให้ชัดเจนตั้งแต่แรก

  7. Financials การเงินจะเป็นตัวตอบหลายอย่างๆ ส่วนสำคัญที่มักจะลงในเรื่องการเงินจะมีอยู่ 3 อย่าง คือ เงินลงทุนตั้งตน, Income Statement และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่นอัตราส่วนกระแสเงินสดพอไหมสำหรับกิจการในช่วงแรก

สรุปคือการเป็น New Venture Creation 3 อย่างที่คุณควรรู้คือ 1. บทบาทของผู้ประกอบการ คุณกำลังจะเป็น Super Hero 2. กระบวนการในการสร้าง New Venture คุณต้องตอบคำถามสำคัญให้ได้นั้นว่าทำอะไรดี ทำดีไหม ทำอย่างไร 3.Business Plane คือเครื่องมือที่จะทำให้คุณเดินทางผ่านแต่ละบทบาทไปได้ อย่างมีขั้นมีตอน และทำให้คุณสร้างกิจการได้อย่างสำเร็จ


ขอขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ (NIA ACADEMY MOOCS)

558 views0 comments
bottom of page