top of page

Global E-Marketplace ลุยตลาดออนไลน์ขายได้ทั่วทั้งโลก

Updated: May 11, 2023



ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะในปี ค.ศ.2022 ที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้สามารถสังเกตเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน


เรื่องของการจับจ่ายซื้อของและบริการต่างๆ ผ่านโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า E-COMMERCE (การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จากที่ปกติต้องออกไปซื้อของกินหรือของใช้จากห้างสรรพสินค้า ตามร้านค้าต่างๆ หรือต้องออกไปทานอาหารนอกบ้าน


แต่ในตอนนี้เชื่อว่าหลายท่านเปลี่ยนการจับจ่ายซื้อของจากการไปที่ร้านค้าสู่การซื้อแบบออนไลน์ ทั้งในแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆก็ตาม และหลายๆท่านคงใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ แล้วจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ถึงมือท่านมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แน่นอนว่าในปี ค.ศ.2022 นี้ เทรนด์ของการค้าขายออนไลน์ก็ยังคงได้รับความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน


จากรายงานของ Digital 2022 Global Overview Report โดยเว็บไซต์ We Are Social และ Hootsuite ได้มีการรายงานเทรนด์ที่น่าสนใจบางข้อที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ได้แก่


  • ประชากรโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงอายุ 16-64 ปีนั้น มีการซื้อสินค้าหรือบริการทางออนไลน์กว่า 58.4% และกว่า 28.3% เคยซื้อสินค้าที่เป็นของกินของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

  • ในหนึ่งสัปดาห์ประชากรโลกซื้อของออนไลน์เฉลี่ยถึง 58.4% ซึ่งถือว่าเยอะมาก และที่น่าสนใจคือประเทศที่มีการซื้อของออนไลน์รายสัปดาห์มากที่สุดนั่นก็คือประเทศไทยที่ 68.3%


แน่นอนว่าในเมื่อมีความต้องการของผู้บริโภคและความยิ่งใหญ่ของช่องทางตลาดที่มี ทำให้โอกาสที่จะสร้างธุรกิจออนไลน์ยังคงเปิดกว้างอยู่ ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมไปถึงในระดับโลก แต่จะมีช่องทางไหนบ้างที่จะสามารถนำสินค้าไปขายในตลาดออนไลน์ที่คนทั่วมุมโลกสามารถเข้าถึงและจับจ่ายได้?


NEO Academy ของเรา มีช่องทางที่จะทำให้ท่านสามารถนำสินค้าออกไปขายได้ทุกมุมโลกมาฝากกัน

Global E-Marketplace คืออะไร?


ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า Global E-Marketplace ให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักกันก่อน แน่นอนว่าหลายท่านคงรู้จักและคุ้นชินกับ E-Marketplace ที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทยทั้ง Shopee, LAZADA หรือ JD Central เป็นต้น

ผู้ให้บริการเหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ทุกท่านนำสินค้ามาฝากวางขายที่พื้นที่หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเป็นสื่อกลาง ที่มีระบบจัดการสินค้าสำหรับผู้ขาย และระบบเกื้อหนุนความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ มีการจัดหมวดหมู่ และสามารถซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบการชำระเงินและจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ยังมีการทำการตลาด หรือกระบวนการวางแผนในด้านธุรกิจ ส่งเสริมผู้ขายหรือเจ้าของธุรกิจ เรียกได้ว่าครบวงจรเลยทีเดียว

ซึ่งในระดับสากลก็มี E-Marketplace เช่นกัน เรียกว่า Global E-Marketplace นั่นเอง แน่นอนว่าระบบการให้บริการนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่พิเศษนั่นก็คือ ไร้พรมแดนในการขายและการซื้อ อธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายก็คือ ไม่ว่าจะท่านจะอยู่ที่ไหนของโลก ท่านก็สามารถซื้อและขายสินค้าที่ท่านต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ขายหรือลูกค้าได้โดยตรง สามารถส่งของข้ามประเทศ ข้ามทวีปอย่างง่ายดาย


NEO Academy ขอพาไปรู้จักกับ 3 ผู้ให้บริการ Global E-Marketplace ที่น่าสนใจในยุคนี้


น้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินชื่อของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ผู้ให้บริการ Global E-Marketplace รายใหญ่ของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1994 Jeff Bezos ได้เริ่มเปิดร้านหนังสือออนไลน์ในยุคบุกเบิกของอินเทอร์เน็ต ใช้ชื่อว่า Cadabra.com เพราะเจ้าตัวได้มองเห็นเส้นทางและอนาคตที่สดใสของธุรกิจขายหนังสือออนไลน์ นอกจากนี้เขายังเชื่อมั่นว่าจะทำยอดขายได้ดีกว่าร้านหนังสือทั่วๆไป


ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Amazon.com ตามชื่อของแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้พัฒนาจนกลายมาเป็นบริษัท E-COMMERCE ที่ใหญ่ที่สุด


จุดที่น่าสนใจของ Amazon ได้แก่

  • เป็นผู้ให้บริการ Global E-Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

  • มีการจัดการสินค้าคงคลัง (inventory), โกดัง (warehouse), ศูนย์กระจายสินค้า (distribution center) และระบบขนส่ง (logistic) ของตัวเอง

  • Amazon มีระบบการสมัครสมาชิกเรียกว่า Amazon Prime โดยสมาชิกจะจ่ายค่าสมาชิกรายปี เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับสินค้าภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าบางรายการ

  • เป็นเจ้าแห่งนวัตกรรม เช่น ในตอนนี้ได้มีการร่วมมือกันกับ metaverse เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ที่กำลังดังอยู่ขณะนี้ เพื่อหลอมรวมโลกเสมือนจริงกับการขายของแบบออนไลน์ให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน ลองจินตนาการว่าตัวท่านได้ลองหยิบจับสินค้า ได้เห็นหน้าผู้ซื้อหรือผู้ขายเหมือนเช่นที่ท่านไปที่ร้านค้า แต่ตัวท่านยังนั่งอยู่ที่บ้านเหมือนซื้อของออนไลน์ปกติ ถ้าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ คงน่าสนใจไม่น้อย


2) eBay.com

eBay.com เป็นเว็บไซต์ E-Marketplace ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของอเมริกา ที่มีจุดเด่นนอกจากการซื้อขายกันได้แบบปกติ ก็สามารถประมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้อีกด้วย

eBay ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 โดย Pierre Omidyar นักธุรกิจและนักสังคมสงเคราะห์วัย 28 ปี ด้วยการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งขับเคลื่อนโดยชุมชนธุรกิจออนไลน์ ใช้ชื่อว่า AuctionWeb.com แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็น eBay.com ในปี พ.ศ.2540


จุดที่น่าสนใจของ eBay.com ได้แก่

  • มีระบบ Auction(ประมูล) และ Buy it now(ซื้อเลย) ซึ่งระบบประมูลนั้นถือเป็นจุดเด่นที่สุดของ eBay ในปัจจุบันแทบจะหาเว็บไซต์ที่รองรับการประมูลใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้เลย

  • เปิดร้านค้าขายของได้ง่าย แทบจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขายของ

  • สามารถให้ผู้ซื้อมาเปิดเสนอซื้อสินค้าได้ หากไม่เจอสินค้าที่ลงประกาศขายอยู่แล้วในเว็บไซต์

  • มีระบบ Feedback เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จึงทำให้ผู้ขายมั่นใจได้ว่าจะได้เงินแน่นอน และผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตรงตามที่ต้องการ สามารถให้คะแนนกับผู้ขายได้


3) Alibaba

Alibaba ผู้ให้บริการ E-COMMERCE สัญชาติจีนที่มาแรงแซงทางโค้ง ถูกเรียกว่าเป็น Amazon ในเวอร์ชั่นของประเทศจีน ไม่ใช่แค่เพราะว่าทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่ Alibaba สามารถทำกำไรได้มากกว่า Amazon แม้ว่าจะมีรายได้ที่น้อยกว่า


Jack Ma นักธุรกิจชาวจีน ได้ก่อตั้ง Alibaba ขึ้นในปี ค.ศ.1998 ด้วยการที่เขาได้มีโอกาสไปเยือนอเมริกาในช่วงยุคที่อินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ตัว Jack Ma เล็งเห็นถึงช่องทางในการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้


Alibaba ประกอบไปด้วยธุรกิจหลักสามส่วนหลักๆ ได้แก่ Alibaba.com, TaoBao และ Tmall

  • Alibaba.com เป็นเว็บไซต์แรกในปี พ.ศ.2542 โดยเน้นขายสินค้าแบบ B2B หรือ ธุรกิจถึงธุรกิจ เน้นขายสินค้าในปริมาณมาก

  • Taobao ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2546 เพื่อขายสินค้าในรูปแบบ B2C หรือ ธุรกิจถึงผู้บริโภคโดยตรง และ C2C หรือ ผู้บริโภคถึงผู้บริโภคโดยตรง คล้ายกับ eBay

  • Tmall ที่เปิดตัวในปี พ.ศ.2551 โดยจะจำหน่ายสินค้าที่เป็นแบรนด์ต่างประเทศ และให้นักธุรกิจรายย่อยเปิดร้านค้าออนไลน์ แบบเดียวกับ Shopee หรือ LAZADA ในประเทศไทย


จุดที่น่าสนใจของ Alibaba ได้แก่

  • ความหลากหลายของแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะทำธุรกิจให้เหมาะกับธุรกิจและสินค้าของตนเอง

  • Alibaba เน้นสร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ (ecosystem) เพื่อสนับสนุนการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้สามารถเชื่อมโยงกันในทุกๆแพลตฟอร์ม

  • มี Alipay ที่เป็นบริการชำระเงินดิจิทัลของตัวเอง ที่รองรับบริการด้านการเงิน เช่น การชำระ การบริหารสินทรัพย์ และประกัน เป็นต้น

  • มีการแชร์ข้อมูลให้แก่แบรนด์หรือผู้ชาย เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาสินค้าหรือพัฒนาการทำการตลาด


Global E-Marketplace เหล่านี้ จะช่วยให้ทุกท่านเปิดช่องทางการค้าขายไปสู่ทั่วโลกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยความมั่นคง และระบบแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ รองรับสนับสนุนทั้งตัวของเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อ

แต่เรื่องของ Global E-Marketplace ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เนื้อหาเชิงลึกถึงข้อดี ข้อสังเกตของแต่ละช่องทาง รวมไปถึงเทคนิคต่างๆ ในการใช้งานเว็บไซต์เหล่านี้ ท่านสามารถเรียนได้จากหลักสูตรโดย NEO Academy ของเรา


Mini MBA Plus: E-Commerce Management หรือ หลักสูตรการบริหารธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

“หาสินค้าที่เหมาะ เจาะตลาดที่ใช่ พาธุรกิจออนไลน์ไปไกลทั่วทุกมุมโลก”


รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.neobycmmu.com/mini-mba-plus-ecommerce-management --------













152 views0 comments

Comments


bottom of page