top of page

Google Algorithm

Google Algorithm คือ ระบบการทำงานที่ซับซ้อนที่ช่วยให้ Google ค้นหา, จัดอันดับ และประเมินว่าคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ไหนควรนำมาแสดงผลเมื่อมีคนกดค้นหาสิ่งนั้น เพื่อให้ตรงหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังค้นหามากที่สุด โดยมีตัวหลักๆ อยู่ประมาณ 8 ตัว ดังนี้


1.Google Panda

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011)

สิ่งที่ห้ามทำคือ การคัดลอกคอนเทนต์ (Plagiarism)” ยิ่งถ้าเว็บไซต์ไหนไปโกยคอนเทนต์อีกเว็บไซต์นึงมาใส่บนเว็บไซต์ตนเอง แล้ว Google จะถูกทำโทษ (Penalty) ด้วยการไม่ให้ขึ้นบนหน้าหนึ่งของ Google

อีกอย่างหนึ่งคือ การยัดเยียด Keyword ลงในคอนเทนต์ตัวเองมากเกินไปจงใจพูดซ้ำไปซ้ำมาเกินเหตุ เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเว็บไซต์ไหนมีคอนเทนต์ที่สดใหม่ มีคุณภาพสูง ไม่สั้นจนเกินไป สร้างคุณค่าให้แก่คนอ่าน และมีศิลปะในการเล่าเรื่องในการใส่ Keyword อย่างเป็นธรรมชาติด้วยจำนวนที่เหมาะสม Google จะเทคะแนนให้เยอะ และขึ้นแท่นอันดับดีได้ไม่ยาก

2.Google Penguin

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ปี 2012)

ส่วนนี้เกี่ยวเนื่องกับการทำ SEO Offpage Google ชอบ Backlink ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ โดยไม่ใช่ Paid Backlink ที่ใช้เงินซื้อมาจากเว็บไซต์สายดำต่าง ๆ ถ้ารู้ว่าลิงก์พวกนั้นเป็นลิงก์ปลอมหรือไม่มีคุณภาพ จะลดคะแนนซึ่งมีผลกระทบรวมของเว็ปในการขึ้นอันดับ

3. Google Pirate

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2012)

การกระทำแบบนี้มันก็คล้าย ๆ กับการที่เราไปคัดลอกคอนเทนต์ของคนอื่นมาลงบนเว็บไซต์ของเรา กว่าที่พวกเขาจะฟูมฟักไอเดีย จะคิด จะสร้าง จะเสกสรรค์ออกมาได้เนี่ย มันต้องใช้ความคิด จินตนาการ และความอดทนเป็นอย่างมาก แต่พวกคุณก็ไปขโมยมาแบบหน้าตาเฉย มันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย

เพราะฉะนั้นถ้า Algorithm โจรสลัดนี้จับได้ว่าไปขโมยผลงานลิขสิทธิ์มาลงหรือเว็บไซต์นั้นโดนร้องเรียนบ่อย ๆ ก็เตรียมตัวบอกลาหน้า Google ได้เลย

เพราะฉะนั้นแล้วทางที่ดีควรใช้ Anchor Text ที่สื่อถึงเว็บไซต์ที่จะเชื่อมโยงไปจะดีที่สุด หรือใช้เทคนิคทำ Backlink ที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาเชื่อมโยงกัน และมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น การไปเป็น Guest blogging เขียนบทความให้กับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ, ปรับแต่ง On-page SEO รวมไปถึงสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า แล้วคุณจะได้ Backlink ที่ดีกลับมาอย่างแน่นอน

4.Google Hummingbird

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2013)

Google สามารถเข้าใจหยั่งรู้และเข้าถึงความต้องการจริง ๆ ของการค้นหานั้นได้ โดยปกติแล้วคนมักจะใช้คีย์เวิร์ดสั้น ๆ ในการค้นหา แต่ถ้าเมื่อใดที่คีย์เวิร์ดสั้น ๆ คำเดียวไม่สามารถตอบคำถามในสิ่งที่พวกเขากำลังตามหา การค้นหาก็มักจะมาในรูปแบบของกลุ่มคำหรือประโยคยาวๆ (long-tail keyword) เช่น ประโยคคำถาม (อะไร..., ทำไม..., ใคร...)

ซึ่ง Algorithm ตัวนี้จะดึงเว็บไซต์ของคุณขึ้นไปแสดงบนหน้าการค้นหาเอง ถ้ามีคีย์เวิร์ดที่ตรงประเด็น และมีเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหา (ที่ฮัมมิ่งเบิร์ดได้คาดเดามาแล้ว) เช่น จะค้นหาว่า อะไรคือสิ่งที่สร้างความสุขให้กับชีวิตของเรา” Algorithm ก็จะแสดงเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ด วิธีสร้างความสุขมาให้

หรือจะค้นหาว่า โซฟา ikea” Algorithm ก็จะแสดงเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดที่เราหามาให้ นั่นคือ โซฟาที่อยู่ใน IKEA ไม่ใช่แยกแสดงผลระหว่าง โซฟากับ “ikea” มาให้เรา

เพราะฉะนั้น คุณควรทำคอนเทนต์ที่ใช้ภาษาที่สามารถเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่าย ไม่ต้องเขียนภาษาหุ่นยนต์แปลก ๆ มา และถ้าเขียนคอนเทนต์ที่สร้างคุณค่าก็ควรใส่คำที่ Trigger ถึงการตอบคำถามไว้ด้วยก็ได้ เช่น คือ, เป็น, เพราะ, วิธีที่ทำให้เป็นต้น เพียงเท่านั้น Google ก็จะแสดงผลเป็นเว็บไซต์ของคุณเอง

5.Google Pigeon

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014)

คอนเทนต์ที่คุณเขียนไว้บนเว็บไซต์ทั้ง ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ ควรมี Trigger ที่บอกถึง Location ของคุณ เพราะว่า Algorithm ตัวนี้จะยึดตามตำแหน่งของผู้ที่ค้นหาเป็นหลัก เช่น ถ้าลูกค้าอยากรู้ร้านอาหารอร่อยแถวสามย่าน แล้วพิมพ์ค้นหาว่า ร้านอาหารอร่อย สามย่านเจ้านกพิราบก็จะคัดเลือกร้านในระแวกสามย่านมาให้คุณเองโดยอัตโนมัติ

ซึ่งข้อมูลที่ธุรกิจต่าง ๆ ได้อัปเดตไว้บน Google My Business เช่น ชื่อร้าน, ที่อยู่, เบอร์โทร หรืออื่น ๆ ก็จะช่วยในเรื่องให้ลูกค้าตามหาตำแหน่งที่ตั้งได้ง่าย เพราะฉะนั้น เรื่องจดจำ Location เก่ง ต้องยกให้เจ้านกพิราบเลย ถ้าให้ข้อมูลที่อยู่อะไรกับเจ้านกพิราบมา มันก็จะจดจำอยู่อย่างนั้น ถ้าจะย้ายที่อยู่ ปิดร้านชั่วคราวหรือถาวร ก็อย่าลืมอัปเดตข้อมูลให้รู้ด้วยล่ะ เพื่อประโยชน์ที่ดีแก่ตัวคุณเองและไม่สร้างความสับสนให้แก่ลูกค้า

6.Google Mobile-Friendly

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ปี 2015)

Mobile Friendly ก็ตามชื่อเลย "เป็นมิตรกับโทรศัพท์" จากสถิติของ Hootsuite ที่ผ่านมาไม่นานนี้บอกว่า คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 3 ของโลก (เป็นรองฟิลิปปินส์และบราซิล)

นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมคุณควรถึงต้องปรับรูปแบบเว็บไซต์ให้เป็น Mobile Responsive เพราะเมื่อมีคนมาค้นหาอะไรสักอย่าง จากสถิติเราก็น่าจะดูออกอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องค้นหาจากโทรศัพท์แน่นอน

เพราะฉะนั้น Algorithm ตัวนี้ก็จะคอยจับตามองว่าเว็บไซต์ของเรามีการแสดงผลบนโทรศัพท์ดีหรือไม่ ถ้าไม่ดี ก็ไม่มีทางที่ผู้ใช้งานจะอยู่บนเว็บไซต์ของเรานานเกิน 2 วินาที นั่นก็จะส่งผลต่อตำแหน่ง SEO ของเราด้วย

7.Google Bert

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019)

ไม่ว่าคุณจะแสดงอะไรออกมา Bert  ย่อมาจาก Bidirectional Encoder Representations from Transformers จะเป็นคนที่เข้าใจในความคิดของคุณเสมอ รู้ว่าคุณต้องการหรือไม่ต้องการอะไร และเป็นคนที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยมาก เขาจะเก็บทุกคำที่ผู้ใช้ค้นหา และพยายามตีความออกมาจนทำให้คุณพบคำตอบที่คุณต้องการให้ได้

Algorithm ตัวนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจภาษามนุษย์ (NLP) มากขึ้น โดย Google ได้ปรับเพิ่มทักษะความเข้าใจของบริบทของคำค้นหาหรือข้อความจากผู้ใช้ได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ Bert จึงสามารถนำ Traffic แบบ Organic เข้าไปสู่หน้าเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับคำค้นหามากที่สุด (ได้ Traffic ที่มีคุณภาพ)

และทำให้การค้นหา Long-Tailed Keyword (คีย์เวิร์ดที่มีความยาวและเฉพาะเจาะจง) มีผลลัพธ์ความแม่นยำมากขึ้น เรียกได้ว่าคุณจะพิมพ์คีย์เวิร์ดยาวขนาดไหน Bert ก็จะตีความและหาคำตอบมาให้คุณเอง!

ตัวอย่างเช่น ถ้าค้นหาคำว่า “Parking on a hill with no curb” เมื่อก่อนที่จะมี Bert มา Google Algorithm จะแสดงผลการค้นหาที่เน้นคำว่า “Parking on a hill” และ “Curb” เป็นหลัก โดยไม่สนใจคำว่า “No” แต่ภายหลังมี Bert มา ผลการค้นหาก็จะให้ความสำคัญกับ “No” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคีย์เวิร์ดที่ผู้ค้นหาต้องการคำตอบมากที่สุด

เพราะฉะนั้น คุณอาจจะทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเจาะจงและมีเนื้อหาที่เอาไว้ตอบคำถาม หรือคอนเทนต์ที่มี Long-Tailed Keyword เข้าไปด้วย หรือลองใช้คีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้อง (Related Keyword) กันดู เพื่อที่มันจะส่งผลให้คีย์เวิร์ดหลักติดอันดับได้ดีขึ้น

8.Google Fred

(เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2017)

Google จะรู้ทันที ถ้าคุณกำลังพยายามที่จะขายของให้กับเขาอย่างมาก โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยลิงก์ Affiliate และ Ads โฆษณาต่าง ๆ กระพริบลายตามากมาย หากว่าคุณเฟร็ดเจอแบบนั้น ก็จะทำการลดอันดับ SEO ของเว็บไซต์คุณลงมาทันที

ดังนั้น ควรสร้างคอนเทนต์ที่เน้นเนื้อหาที่มีคุณค่าดีกว่า เพราะนั่นเป็นจุดประสงค์ที่ทำผู้ใช้งานกดเข้าเว็บไซต์ของคุณมาอ่านคอนเทนต์ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อดูโฆษณา มีได้แต่ควรมีอย่างพอเหมาะ อย่าหลอกขายของเยอะจนเกินไป

bottom of page